
การเล่นบทบาทสมมติ
หนึ่งในการเล่นที่สามารถพัฒนาระบบความคิดและการเรียนรู้
ซึ่งการคาดหวังที่มากเกินไปอาจจะกลายเป็นความกดดัน และความกดดันนั้นกำลังทำร้ายลูกของเรา การคาดหวังที่เหมาะสม คือ การคาดหวังเด็ก ๆ ให้ตรงกับวัยของเขา ไม่ใช่ "สูงเกินวัยของเขา" หรือ "ต่ำกว่าวัยของเขา"
“การคาดหวังที่สูงกว่าวัย” ยกตัวอย่างเช่น ให้ลูกวัยอนุบาลหยุดร้องไห้เสียที เวลาไปส่งเขาที่โรงเรียน ให้ลูกวัยอนุบาลนั่งนิ่ง เขียนได้คล่องแคล่ว และจำทุกตัวอักษร ให้โทรศัพท์ที่ต่ออินเตอร์เน็ตได้กับลูกวัยประถมต้น และหวังว่าเขาจะใช้อย่างเหมาะสม ให้ลูกวัยรุ่นหยุดใจร้อน และไม่ทำผิดพลาดในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นต้น
บ่อยครั้งที่เรามักคาดหวังให้ลูก “ทำ” และ “เป็น” ในสิ่งที่เราต้องการโดยที่เราลืมนึกไปว่าเขายังเป็น เพียงแค่เด็กคนหนึ่งเท่านั้นเอง และบางครั้งสิ่งที่เราคาดหวังเขา ผู้ใหญ่อย่างเรายังทำไม่ได้ด้วยซ้ำ
การคาดหวังที่สูงกว่าวัยของเด็กมักจะนำไปสู่ “ความกดดัน” ที่ทำให้เด็กต้องพยายามอย่างหนัก ซึ่ง บางครั้งแม้จะพยายามสุดกำลังแล้วก็ยังไม่สามารถทำได้ตามคาดคาดหวังนั้น เพราะตัวเขาเองยังไม่ ถึงวัยที่จะสามารถทำสิ่งนั้นได้ แต่สำหรับเด็กแล้ว เขาไม่ได้รู้ถึงข้อเท็จจริงข้อนี้ เขาจึงรู้สึกว่า “ตัวเอง ไม่ดีพอเสียที”
ในขณะเดียวกันพ่อแม่เองก็รู้สึกกังวลหรือไม่พอใจที่ลูกไม่สามารถทำได้ดังที่เราหวังไว้ ดังนั้นก่อนที่เราจะคาดหวังลูกสูงกว่าเราควรกลับไปทบทวนว่าลูกอายุเท่าไหร่ และสิ่งที่เขาควรทำได้มี อะไรบ้าง เพราะเราอาจจะมัวแต่คาดหวังที่เกินวัย จนลืมสิ่งสำคัญที่ลูกควรทำได้ตามวัยของเขาไป
สุดท้ายแม้สิ่งที่เราคาดหวังจะเป็นสิ่งที่วัยของลูกต้องทำได้ แต่ลูกของเรายังทำไม่ได้ อยากให้กำลังใจ คุณพ่อคุณแม่ว่า “ไม่เป็นไรเลย” ที่เกิดเรื่องแบบนี้กับลูกของเราได้ ให้เราสอนเขาต่อไป ถ้าเราสอนแล้ว ลูกยังไม่สามารถทำได้ ขั้นต่อมาควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ แพทย์พัฒนาการ กุมารแพทย์ นัก กิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาพัฒนาการ/เด็ก
เด็กบางคนอาจจะเรียนรู้ในบางเรื่องราวได้ช้าไปบ้าง แต่ใช่ว่าเขาจะไม่สามารถเรียนรู้ และพัฒนา เติบโตได้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่ต้องมองให้เห็นในสิ่งที่เขาทำได้ และส่งเสริมในด้านนั้น ในขณะ เดียวกันด้านที่เขาทำไม่ได้ตามวัยเราก็ค่อย ๆ พัฒนาเขาต่อไป เพราะความเชื่อมั่นจากพ่อแม่ และความมั่นใจในตัวเองมีผลต่อตัวเขามากกว่าสิ่งอื่นใด
"การคาดหวังที่ต่ำกว่าวัย" อีกหนึ่งความคาดหวังที่เรามักมองข้ามไปว่าจะสามารถส่งผลเสียต่อตัวเด็กไม่แพ้กัน
ยกตัวอย่างเช่น
ป้อนข้าวให้ลูกในวัยที่เขาสามารถกินข้าวเองได้แล้ว
อุ้มลูกไปทุก ๆ ที่ ในวัยที่เขาสามารถเดินได้เองแล้ว
รู้ใจลูก ไม่ให้ลูกสื่อสารบอกความต้องการ/ปฏิเสธด้วยตัวเองในวัยที่เขาสามารถพูดบอกได้แล้ว
ดูแลของใช้ของลูกให้กับลูก
ตามเก็บของเล่นให้
ถือของของลูกให้เขาเดินตัวปลิว โดยไม่ต้องดูแลของ ของตัวเองเลย
การคาดหวังที่ต่ำกว่าวัยทำให้เด็กขาดประสบการณ์ที่เขาควรได้รับในวัยของเขา ส่งผลให้เขามีวุฒิ ภาวะต่ำกว่าวัย หรือ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองตามวัยได้ เด็ก ๆ อาจจะติดการช่วยเหลือ และใช้การ ควบคุม และออกคำสั่งกับผู้อื่นเพื่อให้อีกฝ่ายทำสิ่งต่าง ๆ ให้ เมื่อต้องเข้าสู่สังคมโรงเรียนเด็กอาจจะมี ปัญหากับการเล่นตามกติการหรือการปรับตัวเข้ากับเพื่อน ๆ ได้
ทั้งความคาดหวังที่สูงกว่าวัย และต่ำกว่าวัยส่งผลเสียต่อความมั่นใจในตัวเองของเด็กไม่แพ้กันเพราะ เด็กที่ถูกคาดหวังต่ำกว่าวัยก็จะรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ในขณะเดียวกันพ่อ แม่เองก็มีความกังวลหรือไม่เชื่อมั่นว่าลูกจะสามารถทำสิ่งนั้นได้ด้วยตนเอง “เด็ก ๆ ทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด ขอโอกาสให้เขาได้ลองทำด้วยตัวเอง” เพื่อความปลอดภัยผู้ใหญ่มีหน้าที่กำหนดขอบเขต และกติกาให้ชัดเจน
การคาดหวังเด็กที่ไม่ตรงตามวัยของเด็กมักเกิดจากการที่ผู้ใหญ่อาจจะไม่ทราบว่า “พัฒนาการตามวัย ที่เด็กควรทำได้มีอะไรบ้าง” คำตอบของคำถามของข้อนี้ พ่อแม่จำเป็นต้องทำการบ้านและหาข้อมูล ในวัยของลูก เพื่อที่เราจะได้เข้าใจ และคาดหวังเขาได้เหมาะสมกับวัย
ปัจจุบันโลกอินเตอร์เน็ตช่วยให้พ่อแม่ค้นหาเรื่องเหล่านี้ได้ง่ายขึ้นมาก ๆ เพียงแค่เราสืบค้นว่า “พัฒนาการของลูกวัยปี” เราจะพบกับข้อมูลมากมายให้เลือกอ่าน แต่ข้อมูลที่มากเกินไปก็จะนำปัญหา มาให้ว่าแล้วเราควรจะเลือกข้อมูลชุดไหนดี ขออนุญาตแนะนำดังนี้
“ให้เด็กได้เป็นเด็ก” เพราะเด็กทุกคนเป็นเด็กได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต
ให้เด็ก ๆ ได้หัวเราะสุดเสียงเมื่อเขามีความสุข และร้องไห้เมื่อเขาเศร้า ให้พวกเขาได้วิ่งเล่น ปีนป่าย กระโดดไปทั่วอย่างสบายใจในที่โล่งกว้าง ให้พวกเขาได้รับความรักอย่างปราศจากเงื่อนไขจากเรา ให้พวกเขาได้ทำผิดพลาดในขณะที่ยังมีเราที่ยังสอนเขาได้ ให้พวกเขาได้เรียนรู้ สิ่งที่จำเป็นต้องท บางครั้งอาจจะเป็นสิ่งที่เขาไม่ชอบ แต่จำเป็นทำมันอยู่ดี
ให้พวกเขาได้เรียนรู้ว่าทุก ๆ อย่างไม่ได้เป็นดั่งใจเขาทุกอย่าง แต่เขาเลือกที่จะลงมือทำเพื่อตัวเองได้เสมอ เพื่อให้พวกเขาได้กักตุนความสุข และประสบการณ์วัยเยาว์อย่างเพียงพอจะเป็นภูมิคุ้มกันทางใจในวัน ที่เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่