
Digital Citizenship : 8 ทักษะพลเมืองดิจิทัล พลังสำคัญที่เด็กไทยยุคใหม่ต้องมี
ในยุคที่โลกเสมือนและโลกจริงผสานกัน เด็กไทยต้องมี 8 ทักษะพลเมืองดิจิทัล
นักวิทยาศาสตร์พบว่า สมองของคนเรามีการพัฒนาเป็นขั้นตอน ช่วงแรกเกิดจนถึงประมาณ 6 ปี เป็นช่วงขยายขนาดสมอง ช่วงนี้เป็นช่วงที่สมองสร้างเซลล์ประสาทจำนวนมากทำให้สมองมีขนาดโตขึ้นเร็ว
ช่วง 6-12 ปี เป็นช่วงที่มีการเชื่อมโยงการทำงานของระบบประสาท พอเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจะเกิดการตัดแต่งเส้นใยประสาท เซลล์สมองส่วนไหนได้ใช้ ก็จะถูกธรรมชาติเลือกเก็บเอาไว้ ส่วนไหนที่ไม่ได้ใช้ก็จะถูกตัดทิ้งไป (use it or lose it theory) เซลล์ประสาทส่วนที่ถูกเลือกเก็บไว้จะได้รับการพัฒนาโดยมีการสร้างเยื่อหุ้มใยประสาท เพื่อให้นำกระแสประสาทได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้นเด็กและวัยรุ่นคนไหนที่ได้รับการพัฒนาด้านบวก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสามารถหรือนิสัยเชิงบวก ก็จะมีโอกาสในการพัฒนาไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพ แต่ถ้าวัยรุ่นคนไหนได้รับการพัฒนาด้านลบ เช่น นิสัยก้าวร้าว ติดเกม ติดยาเสพติด ก็จะทำให้มีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีนิสัยหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงนั้น ๆ ในทางกลับกัน ถ้าเด็กหรือวัยรุ่นไม่ได้พัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่ควรได้รับการพัฒนา เซลล์สมองส่วนนั้น ๆ ก็จะสลายไป ทำให้ขาดโอกาสที่จะมีทักษะหรือความสามารถในด้านต่าง ๆ เมื่อโตขึ้น
ช่วงวัยรุ่นจึงเป็นเหมือนหน้าต่างแห่งโอกาส ที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรใส่ใจในเรื่องการพัฒนาศักยภาพ ความสามารถ ลักษณะนิสัยเชิงบวก ถึงตัวจะใหญ่ แต่ไม่ใช่เรื่องของสมอง ถึงแม้วัยรุ่นจะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อย่างมากจนทำให้ดูเหมือนเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์พบว่าสมองของวัยรุ่นยังไม่พัฒนาเหมือนสมองของผู้ใหญ่ สมองของวัยรุ่นเป็นสมองช่วงกำลังพัฒนา ทำให้วัยรุ่นคิดไม่เหมือนที่ผู้ใหญ่คิด
"สมองส่วนแรก" ที่พัฒนาคือสมองส่วนหลังเป็นสมองที่ใช้ในการมองเห็น เคลื่อนไหว จะพัฒนาต่อเนื่องจากแรกเกิด พอเข้าวัยรุ่น “สมองส่วนกลาง” เป็นสมองที่พัฒนามาก สมองส่วนกลาง (limbic system) หรือ “สมองส่วนอารมณ์” เป็นสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความสนุก ท้าทาย ความหลงไหล คลั่งไคล้ ชอบทำอะไรเสี่ยง ๆ และเป็นสมองส่วน “ติดสุข” โดยงานวิจัยพบว่าวัยรุ่นจะใช้สมองส่วนกลางเวลาตัดสินใจจะทำอะไร จึงไม่น่าแปลกใจที่วัยรุ่นชอบทำอะไรตามความพอใจ ชอบทำอะไรท้าทายความเสี่ยง และมักจะขาดความคิดวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะตามมา
"สมองส่วนหน้า" เป็นสมองส่วนท้ายสุดที่ได้รับการพัฒนา เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่คิดวิเคราะห์ มองถึงผลกระทบที่จะตามมา ควบคุมอารมณ์ ควบคุมความอยาก เรียนรู้จากความผิดพลาด โดยพบว่าวัยรุ่นเป็นช่วงเวลาแห่งการพัฒนาสมองส่วนหน้า โดยสมองส่วนหน้ายังพัฒนาไม่เต็มที่จะพัฒนาเต็มที่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือจนถึงอายุประมาณ 25 ปี
งานวิจัยพบว่าผู้ใหญ่จะใช้สมองส่วนนี้ ในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ มากกว่า ในขณะที่วัยรุ่นจะใช้สมองส่วนกลาง หรือใช้เรื่องของความพึงพอใจ ความสุข ความสนุก เป็นตัวตัดสินใจ พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกวัยรุ่นควรมีความเข้าใจถึงพัฒนาการทางสมองของวัยรุ่น เข้าใจถึงข้อจำกัดในการตัดสินใจ คิดวิเคราะห์ ควบคุมอารมณ์ ไม่ใช่เพราะวัยรุ่นไม่รู้จักคิด แต่เป็นเพราะสมองยังมีข้อจำกัด
ในขณะเดียวกันพ่อแม่ผู้ปกครองควรมีบทบาทในการช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้าของวัยรุ่น ช่วยฝึกให้วัยรุ่นคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง ควบคุมตนเอง มีความคิดยืดหยุ่น และเนื่องจากสมองของวัยรุ่นถือเป็นโอกาสทองของการพัฒนา พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรใส่ใจในการพัฒนาทักษะและพฤติกรรมด้านบวก หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเชิงลบ เพื่อให้วัยรุ่นได้รับการดูแลและพัฒนาตนเองจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพในอนาคต