
Stage Of Attachment สายสัมพันธ์ในวัยเด็ก : พื้นฐานสำคัญของความมั่นคงในใจลูก
สายสัมพันธ์ช่วงวัยทารกคือจุดเริ่มต้นของความมั่นคงภายในใจเด็ก
คำบอกรักที่เด็กเข้าใจและรับรู้ได้และเวลาคุณภาพ คือ คำตอบของพ่อแม่ที่มีอยู่จริง หากปราศจากซึ่งเวลาคุณภาพ สายสัมพันธ์ย่อมไม่มี และพ่อแม่ย่อมไม่มีอยู่จริง จะสอน จะพูด จะสัญญาอะไร เด็กอาจจะไม่อยากฟังหรือไม่ฟัง เพราะคนพูดยังไม่มีอยู่จริงเลย (ไม่มีอยู่จริงในที่นี้ คือ มา ๆ หาย ๆ ไม่ได้อยู่ในเวลาที่เขาต้องการ ในช่วงวัย 0-6 ปี) นอกจากนี้ 'สายสัมพันธ์' ส่งผลต่อพัฒนาการขั้นแรกในชีวิตของเด็กทุกคน หากปราศจากซึ่งบันไดขั้นแรกหรือมีบันไดขั้นแรกที่คลอนแคลน ผลที่จะตามมากับบันไดขั้นอื่น ๆ ย่อมไม่มั่นคงอย่างแน่นอน
ข้อที่ 1 จึงเป็นข้อที่สำคัญที่สุด เพราะปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นในเด็กและผู้ใหญ่มักเกิดจากพ่อแม่ไม่มีเวลาคุณภาพให้เขา
“เวลาคุณภาพ” → จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู
“วินัย” → จากการที่บ้านมีตารางเวลาชัดเจน ให้ลูกช่วยเหลือตัวเองตามวัย และทำงานบ้าน เพื่อให้เด็กเรียงลำดับความสำคัญ และอดทนรอคอยได้
“การเล่น” → จากการเล่นอิสระตามวัย เล่นกับธรรมชาติ เล่นดิน เล่นทราย เล่นกับพ่อแม่
“การอ่าน” → จากการอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง หรือ เมื่อโตขึ้นก็สามารถเลือกอ่านหนังสือตามวัยของเขา
“ความผิดหวัง” → ให้เขาแพ้บาง ผิดหวังบ้างก็ได้ ไม่ต้องทำให้เขาสมปรารถนาไปเสียทุกอย่าง สร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้เขา
“พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูที่มีความสุข” → หากอยากให้ลูกมีความสุข สุขภาพจิตดี ผู้เลี้ยงดูเขาควรเช่นนั้นก่อน ดังนั้นหาเวลาดูแลกายใจของเราด้วย
ถ้าลูกเราเป็นเด็กปกติดี ขอให้เชื่อมั่นว่า ..."เมื่อเขาพร้อม และถึงวัยที่เขาจะทำได้ เขาจะนำสิ่งที่เราสอนมาใช้งาน และแสดงให้เราเห็น”... คุณแม่ท่านหนึ่งบอกว่า สอนเรื่องกติกาลูกไปตั้งนาน วันดีคืนดีตอนเขาเข้าโรงเรียน เขานึกจะทำได้ ก็ทำได้เสียอย่างนั้น แต่ถ้าไม่สอนอะไรให้ลูกเลยวันนี้ ยังไงก็ไม่มีดอกผลแน่นอน
ทั้งนี้ ถ้าหากเราสงสัยว่า ลูกมีบางอย่างที่เขาไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามวัยเหมือนเด็กทั่วไป ปรึกษาแพทย์พัฒนาการหรือนักจิตวิทยาเด็กได้เสมอ
ให้ใช้ความสงบแต่หยัดยืนดั่งหินผาเข้าสู้ แม้จะสงบ แต่ไม่สั่นคลอน
✿ ถ้าลูกเสียงดัง...ให้เราเสียงเบา
✿ ถ้าลูกอาละวาด...ให้เราพาเขาสงบ
✿ ถ้าลูกร้องไห้...ให้เรากอดเขา
✿ ถ้าลูกทำร้าย...ให้เรากอดเขาให้แน่น บอกสั้น ๆ “ไม่ทำ”
✿ ถ้าลูกไม่พร้อม...ให้เรารอเขา
✿ ถ้าลูกพร้อม...แต่ถ้าเรายังไม่พร้อม ให้เรารอตัวเองพร้อมก่อน
✿ ถ้าลูกพร้อม...เราพร้อม ให้สอนเขาได้
✿ ถ้าลูกทำผิด...ให้เราสอนเขา ไม่ใช่ลงโทษเขา
✿ ถ้าลูกบอกไม่รัก...ให้เวลากับเขามากขึ้น เล่น อ่านนิทาน ทำงานบ้าน นอนกอดกัน บอกรักทุกวัน
(พอเป็นแนวคิดโดยสังเขปให้คุณพ่อคุณแม่นะคะ)
อย่ากดดันหรือใจร้ายกับตัวเองจนเกินไป ผ่อนคลายบ้าง ไร้สาระบ้างเป็นบางวัน ลูก ๆ ไม่เสื่อมศรัทธากับเราหรอก ทำเต็มที่แล้ว ปล่อยวางบ้างก็ได้ อย่าเก็บคำพูดคนอื่นมาทำร้ายตัวเราเอง ฟังเสียงเรา ฟังเสียงลูก ฟังเสียงคนที่เรารัก พอแล้ว
อย่าลืมว่า พ่อแม่เป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ในวันที่เราไม่ไหว ไม่เป็นไรที่จะขอความช่วยเหลือ และลูกส่วนใหญ่ต้อง “พ่อแม่ที่มีความสุข ไม่ใช่พ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบ” เช่นเดียวกัน พ่อแม่ก็ไม่ควรคาดหวังให้ลูกต้องสมบูรณ์แบบ เพราะขอแค่เขาเติบโตเป็นตัวเขาเองที่มีความสุขก็เพียงพอแล้ว