
ในวันที่ลูกไม่พร้อม พ่อแม่เคียงข้างลูกได้อย่างไร
ในวันที่ลูกไม่พร้อม สิ่งที่ลูกต้องการจากพ่อแม่ คือ “การเคียงข้าง” เท่านั้นเอง
❶. พ่อแม่ที่ชอบควบคุมและเรียกร้องจากลูก
พ่อแม่รูปแบบนี้มักเรียกร้องให้ลูกตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง แต่เมื่อลูกต้องการการตอบสนองกลับ จะได้รับน้อยหรือแทบไม่ได้เลย พ่อแม่มักเข้มงวด ไม่อธิบายเหตุผล และควบคุมลูกอยู่เสมอ
พ่อแม่แบบนี้มักไม่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างจากลูก ซึ่งเด็กที่เติบโตในครอบครัวลักษณะนี้มักเกรงกลัวพ่อแม่จนไม่กล้าโต้แย้งหรือแสดงความรู้สึกออกมา ความสัมพันธ์จึงห่างเหิน เพราะพ่อแม่เน้นควบคุมมากกว่ารับฟัง
เด็กที่เติบโตมากับ “พ่อแม่ที่ชอบควบคุม”
สุดท้าย เด็กที่เติบโตมากับพ่อแม่ที่ไม่ยอมรับความแตกต่าง อาจเติบโตขึ้นมาโดยไม่สามารถยอมรับความแตกต่างของผู้อื่นได้เช่นกัน
❷. พ่อแม่ที่เอาใจลูกและทำตามคำเรียกร้องของลูกแทบจะทุกอย่าง
พ่อแม่กลุ่มนี้มักตามใจลูก ไม่กล้าขัดใจ เพราะกลัวว่าลูกจะไม่รัก หากลูกเรียกร้องอะไรและพ่อแม่ไม่ติดขัด ก็มักจะให้ในทันที แม้สิ่งนั้นจะไม่เหมาะสมก็ตาม
แม้จะมีความพยายามในการสอนบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะพูดขอร้องมากกว่าสั่งสอนจริงจัง ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจึงกลับตาลปัตร กลายเป็นพ่อแม่อยู่ภายใต้การควบคุมของลูก
เด็กที่เติบโตมากับ “พ่อแม่ที่เอาใจ”
แม้จะดูมั่นใจและเห็นคุณค่าในตนเอง แต่ภายในกลับรู้สึกไม่มั่นคง ต้องพึ่งพาคนอื่น ชอบควบคุมผู้อื่น และไม่ยอมรับความผิดหวังหรือกฎเกณฑ์ เพราะไม่เคยถูกขัดใจ
❸. พ่อแม่ที่ทอดทิ้งลูก
พ่อแม่กลุ่มนี้ไม่ใส่ใจลูก หรือใส่น้อยมาก แม้จะไม่ได้ปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพัง แต่ก็ไม่ตอบสนองความต้องการทางใจ เช่น ไม่กอด ไม่เล่นด้วย หรือไม่ปฏิสัมพันธ์กับลูกเลย ส่วนใหญ่มักไม่เห็นความสำคัญของ “จิตใจ” เด็ก ลูกจึงค่อย ๆ ถอยห่าง แม้ในตอนแรกจะพยายามเรียกร้องความสนใจ แต่เมื่อไม่ได้รับ ก็หมดหวังในที่สุด
เด็กที่เติบโตมากับ “พ่อแม่ที่ทอดทิ้ง”
เด็กกลุ่มนี้บางคนพยายามทำตัวโดดเด่นในแบบที่สวนกระแส เพื่อให้คนเห็นคุณค่าตนเอง แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถยอมรับความแตกต่างของผู้อื่นได้
❹. พ่อแม่ที่เอาใจใส่
พ่อแม่กลุ่มนี้ใส่ใจลูก ตอบสนองอย่างเหมาะสม และมีเหตุผล ใช้การอธิบายแทนการใช้อารมณ์ มีขอบเขตที่ชัดเจน ปล่อยให้ลูกทำสิ่งที่ทำได้เอง แต่ให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
มีการสื่อสารที่เปิดกว้าง รับฟังความเห็นของลูก แม้ไม่เหมือนตนก็ตาม และแม้จะมีความคาดหวังในตัวลูก แต่ก็เป็นความคาดหวังที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้อง และอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
เด็กที่เติบโตมากับ “พ่อแม่ที่เอาใจใส่”
เมื่อเรารู้ว่าเราเป็นพ่อแม่แบบไหนของลูก หากรูปแบบที่เรายึดถืออยู่ส่งผลไม่ดีต่อลูก เราสามารถเลือก “เปลี่ยนแปลง” ได้ เพื่อเป็นพ่อแม่ในแบบที่ลูกต้องการและจะเติบโตได้อย่างแข็งแรงทั้งกายและใจ
✱ ติดตามข่าวสารและกิจกรรม Thai PBS Kids ได้ทาง Website | Facebook | Youtube | LINE Official ✱
อ้างอิง
Darling, N. (1999). Parenting Style and Its Correlates. ERIC Digest.