
‘ธรรมชาติ’ ตำราเล่มใหญ่ ที่ไม่มีโรงเรียนไหนสอน
เด็กได้สัมผัสธรรมชาติรอบตัวอย่างเหมาะสมนั้นเป็นสิ่งจำเป็น
บางบ้านตอบได้ทันทีอย่างไม่ลังเลว่า “สิ่งนั้นก็คือ ‘การบ้าน’ นั่นเอง !” ช่วงนี้โรงเรียนหลายแห่งเริ่มทยอยเปิดเทอม จากวันที่เด็กเคยวิ่งเล่น กินข้าว นอนอย่างสบายช่วงปิดเทอม เมื่อเปิดเทอม เด็กก็ต้องปรับตัว พ่อแม่ก็เช่นกัน ทั้งตื่นเช้า แต่งตัว พาไปโรงเรียน และกลับมาพร้อมภาระใหม่จากโรงเรียนที่เรียกว่า “การบ้าน”
..."โจทย์ใหญ่ของทุกบ้าน คือ 'ลูกไม่อยากทำการบ้าน'"... (ใช้ได้ตั้งแต่เด็กอนุบาลไปจนถึงประถมเลยทีเดียว !)
❶. มี "มุมทำการบ้าน"
จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ครบ ไม่มีของเล่น ไม่มีจอ ไม่มีเสียงรบกวน แม้แต่น้องเล็กหรือคุณพ่อที่เปิดทีวีใกล้ ๆ ก็อาจดึงสมาธิเขาได้ เด็กควรมี “มุมสงบ” เพื่อฝึกสมาธิและความรับผิดชอบ
❷. มีกติกาชัดเจน + ผู้ใหญ่ที่ "ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน"
ตั้งกติกาให้ชัดว่า “การบ้านต้องทำก่อน จึงจะได้ทำกิจกรรมที่ชอบ” ไม่ควรมีข้อยกเว้น เพื่อฝึกวินัย ลำดับความสำคัญ และความรับผิดชอบ สิ่งสำคัญ คือ “ทุกคนในบ้านต้องปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน” หากผู้ใหญ่ไม่จริงจัง เด็กจะเรียนรู้ว่ากติกาไม่สำคัญ
❸. มี "ผู้ใหญ่เคียงข้าง" ให้อุ่นใจ
นั่งข้าง ๆ เขาในตอนทำการบ้าน อาจทำงานของตนเองไปด้วย เพื่อให้เด็กรู้ว่า “มีพ่อแม่อยู่ใกล้ ๆ พร้อมช่วยถ้าจำเป็น” ไม่ดุ ไม่ประชด ไม่เปรียบเทียบกับเด็กบ้านอื่น การบ้านมี 2 เป้าหมาย
❶. การบ้านยากเกินวัย เด็กอาจรู้สึกท้อได้ เพราะไม่สามารถทำการบ้านด้วยตนเองเนื่องจากไม่เข้าใจบทเรียน ดังนั้นเราสามารถช่วยเหลือเขาได้ เราสามารถสอนโดยทำให้เขาดู แล้วตั้งโจทย์เพิ่มให้เขาลองด้วยตนเองหลังจากดูเราทำ
พ่อแม่ควรสอน ทำให้ดู แล้วให้ลองทำเอง ถ้ายากเกินจริง ควรแจ้งคุณครู หาทางร่วมกันช่วยเด็ก
❷. การบ้านง่ายเกินไป ไม่อยากทำ ตรงนี้เราสามารถบอกเขาได้ว่า "การบ้าน...นอกจากเป็นการฝึกฝนเราแล้ว เรายังฝึกการควบคุมตนเองให้ทำหน้าที่ของตนเองด้วย ถ้าเรารู้ว่าง่าย แล้วไม่ทำ แสดงว่าเรายังฝึกการควบคุมตนเองไม่ได้" แม้จะง่ายแต่ก็ช่วยให้เราเก่ง และเชี่ยวชาญขึ้น
พ่อแม่ควรพูดให้เขาเข้าใจว่า “การบ้านง่าย = โอกาสฝึกควบคุมตนเองให้ทำสิ่งที่ต้องทำให้จบ” อาจเพิ่มความยากท้าทาย หรือปรึกษาคุณครูเพื่อหาทางเสริมศักยภาพ
❸. เด็กอยากทำอย่างอื่นมากกว่า ข้อนี้ต้องกลับไปย้ำข้อ 2. มี "กติกา" ที่ชัดเจน" ผนวกกับผู้ใหญ่ที่เอาจริง ทำข้อตกลงให้ชัดเจนว่า "ถ้าทำการบ้าน ต้องทำเวลาไหน และถ้าไม่ทำจะได้รับผลอย่างไร เช่น งดทำกิจกรรมที่ชอบ"
สุดท้ายเป้าหมายของการบ้าน คือ "การฝึก" ไม่ใช่ข้อสอบ ไม่ต้องห้ามช่วย ไม่ต้องห้ามผิด ให้โอกาส ให้กำลังใจ อย่าใจร้อน อย่าสร้าง “ความกลัว” ต่อคำว่า “การบ้าน” แต่สร้าง “ความมั่นใจ” แทน ด้วยความรักและความเข้าใจ
✱ ติดตามข่าวสารและกิจกรรม Thai PBS Kids ได้ทาง Website | Facebook | Youtube | LINE Official ✱